วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

พัฒนาการลููกน้อย - ภาษาของลูกรักใจวัยขวบปีแรก


เด็กทารกจะสื่อความต้องการต่างๆ ของตนเองด้วยการร้องไห้ คุณพ่อคุณแม่จะเรียนรู้อย่างรวดเร็วในการที่จะเข้าใจว่าลูกร้องลักษณะอย่างไรเป็นการร้องบอกว่าหิว เหนื่อยหรือไม่สบาย ในช่วง เดือนแรกเด็กจะหันหาเสียงและจดจำเสียงที่คุ้นเคยได้ ลูกจะหยุดร้องไห้ถ้าคุณพ่อคุณแม่พูดคุยด้วย นอกจากนี้เด็กยังมีการยิ้มตอบถ้าเด็กรู้สึกพอใจหรือมีความสุข มีการเล่นเสียงอ้อแอ้ ทารกวัย 4-6 เดือนจะเริ่มรับรู้ว่าเสียงต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมมีความแตกต่างกัน เช่น เสียงโทรศัพท์ เสียงเครื่องดูดฝุ่น เด็กเริ่มตอบสนองต่อเสียงที่ผู้ใหญ่บอกว่า อย่า” รู้จักฟังเพลง 
พัฒนาการลูกน้อยช่วงวัยนี้จึงเป็นวัยที่เด็กเริ่มหัดแยกแยะเสียงต่างๆ ในสิ่งแวดล้อม เด็กจึงเริ่มเล่นเสียงที่มีระดับเสียงฟังแตกต่างกันไป เช่น ปาปามามา รวมทั้งเริ่มแสดงท่าทางในการบอกความต้องการ ทารกวัย เดือนถึง 12 เดือนจะเริ่มจำชื่อของตัวเองได้ โดยจะหันไปหาเสียงที่เรียกชื่อของเขา ถ้าผู้ใหญ่พูดด้วยก็จะแสดงท่าทางว่าฟัง เริ่มแสดงว่ารู้จักคำต่างๆ ที่ได้ยินบ่อยๆ เช่น แม่ นม เริ่มทำตามคำสั่งได้ เช่น มานี่” ฉะนั้นลูกจะเริ่มเรียนรู้คำศัพท์ซึ่งจำเป็นต่อการอ่านต่างๆ ในช่วงนี้ และเริ่มมีการพูดคำต่างๆ ตาม จึงเห็นว่าเด็กวัย 1 ปี จะพูดคำที่เป็น 1-2 พยางค์ได้ เช่น แม่ หม่ำ หรือบ้ายบายได้ เป็นต้น เด็กจะเริ่มใช้เสียงพูดบอกความต้องการหรือเรียกร้องความสนใจแทนการร้องไห้มากขึ้น การเล่นเสียงของเด็กจะมีลักษณะเสียงที่ยาวและสั้นรวม กัน เช่น มะมะมา
คุณพ่อคุณแม่จะช่วยลูกพัฒนาด้านภาษาในวัยนี้ได้อย่างไร

คุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นสังเกตความสามารถในการได้ยินของลูกอยู่ตลอดเวลานะคะ ปกติเด็กๆ มักเป็นหวัดกันบ่อยๆ ส่งผลให้หูของลูกอาจจะอักเสบได้ ยิ่งถ้าเกิดเป็นหูอักเสบเรื้อรังก็จะทำให้ระดับการได้ยินของลูกลดลงได้ ทำให้ลูกได้ยินเสียงต่างๆ ไม่ชัดเจน จึงควรให้การดูแลเอาใจใส่รักษาให้หายโดยเร็ว นอกจากนี้การที่พยายามเล่นกับลูก มองสบตากัน พูดคุยกับลูก ถ้าลูกเล่นเสียงก็เลียนแบบเสียงของลูก หรือเลียนแบบสีหน้าท่าทางที่ลูกแสดงออกก็จะเป็นการช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางภาษาของลูกได้ดี ในการเล่นกับลูกอาจสอนให้ลูกเล่นจ๊ะเอ๋ ตบมือ ตบแปะ แมงมุมขยุ้มหลังคา โบกมือบ๊ายบาย เพราะการเล่นลักษณะต่างๆ นี้จะมีการใช้ภาษาเข้ามาด้วย จะเป็นการช่วยลูกให้เข้าใจการสื่อสารในสังคมมากขึ้น วลาที่คุณพ่อคุณแม่ทำอะไรให้ลูก เช่น อาบน้ำ แต่งตัวหรือป้อนข้าว ก็ควรจะพูดกับลูกตลอดเวลาเหมือนกับการพากย์หนังนั่นละคะในทุกๆ กิจกรรมที่ทำกันจะเป็นการสอนคำศัพท์ต่างๆ ให้ลูกทางอ้อมทีเดียว